YMFTHAI-FAQ การแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ( Troubleshoot basic ) การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ ดูแลและบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์

การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์

1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 15-20 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด

 2. ห้ามใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ในกรณีต้องการทำความสะอาดภายนอก ควรใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะและทำความสะอาดตาม ที่แนะนำไว้ในคู่มือเท่านั้น

3. ห้ามเปิดเครื่องเพื่อทำความสะอาดภายในคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง หรือดูดฝุ้นด้วยเครื่องดูดฝุ่น (นอกจากคุณจะรู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่) เพราะจะทำให้ระบบของเครื่องเกิดความเสียหายได้ ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องใช้สเปรย์ทำความสะอาด ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

5. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์

6. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดความเสียหาย

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนต่ออายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ ห้องคอมพิวเตอร์ควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและความชื้น เพราะความร้อน ฝุ่น ความชื้นเป็นสิ่งที่บั่นทอนอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ละอองสารเคมีต่างๆ เช่น สเปรย์น้ำยา น้ำหอม ต่างๆก็มีส้วนในการบั่นทอนอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์เช่นกัน

ความร้อน

ความร้อนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ เอง วิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากจะติดตั้งพัดลมระบายอากาศตามชิ้นส่วนต่างๆไม่ว่าจะ เป็น พัดลมระบายอากาศที่ติดอยู่กับCPU พัดลมระบายอากาศที่ติดอยู่กับการ์ดจอ พัดลมระบายอากาศที่ติดอยู่กับเพาเวอร์ซัพพลาย และพัดลมระบายอากาศที่ติดตั้งอยู่ที่ตัวถัง(เคส)ของเครื่องคอมพิวเตอร์

ดังนั้นเราควรสังเกตุและดูแลรักษาให้พัดลมที่ถูกตั้งอยู่ตามจุดต่างๆทำงาน ได้เต็มประสิทธิภาพของมัน เพาเวอร์ซัพพลายเองก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความร้อนได้มากหากเราใช้ เพาเวอร์ซัพพลายที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับความต้องการกระแสไฟฟ้าของเครื่อง ทำให้เพาเวอร์ซัพพลายทำงานหนักเกินกว่าเสป็คของมัน โดยมากเครื่องคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปจะติดตั้งเพาเวอร์ ซัพพลายมาให้อย่างเหมาะสมอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่เรามีการติดตั้งอปกรณ์เพิ่มหรือในกรณีที่ซื้อเครื่องประกอบเอง จึงควรใส่ใจกับเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ควรเลือกเพาเวอร์ซัพพลายที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานเพื่อลดการเกิด สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้าซึ่งอาจจะไปรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆได้

             นอกจากนี้ตำแหน่งที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่ต้องโดน แสดงแดดเป็นเวลานานๆ และควรติดตั้งตัวเครื่องห่างจากผนังพอสมควรเพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ ดียิ่งขึ้น

ฝุ่นผง

เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกัน ความร้อนทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภาย นอก นอกจากนี้ฝุ่นผงอาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือเกาะตามใบ พัดของพัดลมระบายอากาศตามจุดต่างๆ  ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยช่างผู้ชำนาญ

          สนามแม่เหล็ก

สนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในอุปกรณ์หลายๆชนิด หรือสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงๆอาจทำให้ในแผ่นดิสก์หรือ ฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวร หรืออาจจะทำให้จอภาพเสื่อมประสิทธิภาพ เกิดสีเพี้ยน แหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น แม่เหล็กติดกระดาษบันทึก คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก ไขควงหัวแม่เหล็กลำโพง มอเตอร์ในพรินเตอร์ UPS เครื่องปรับอากาศ ดังนั้นเราจึงไม่ควรวางอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์มากนัก หรือโยกย้ายคอมพิวเตอร์ออกจากบริเวณดังกล่าว

สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า

สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้าอาจเกิดได้ในหลายลักษณะตั้งสัญญาณรบกวนอ่อนจากอุปกรณ์ ที่ไได้มาตรฐาน แรงดันไฟตก แรงดันไฟเกิน ไฟกระตุก สัญญาณไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ฟ้าผ่า ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดไปจนถึงเสียหายได้ จึงควรมีการติดตั้งเครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่นๆ

ไฟฟ้าสถิตย์

ไฟฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น เราจึงควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

น้ำและสนิม

น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด สนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน ส่วนกรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ ปัญหานี้สามารถถูกตรวจพบได้หาดมีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอและทำ การเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เราต้องหลีกเลี่ยงเพื่อยืดอายุการใช้งานดังนี้

             • การต่อสายสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องแฟซ์ โมเด็ม หรือส่วนอื่นๆจะต้องกระทำเมื่อปิดเครื่องเท่านั้น

             • อย่าปิด – เปิดเครื่องบ่อยๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

             • อย่าปิดเครื่องในขณะที่ครื่องทำงานอยู่เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่

             • ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้

             • อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดฝาเครื่องต้องปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟก่อน

             • ควรศึกษาจากคู่มือให้ละเอียดก่อนการใช้งาน

             • ตัวถังภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับ พลาสติกเมื่อใช้นานๆ จะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นานๆ จะทำความสะอาดยาก จึงควรทำความสะอาดเป็นระอย่าง โดยใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ควรใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผง ต่างๆ

Related Post

ไม่สามารถเข้า Windows ได้ไม่สามารถเข้า Windows ได้

การเข้า Windows ไม่ได้นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มากทีเดียว เพราะจะทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น จำเป็นต้องหาสาเหตุให้พบว่าสาเหตุที่ทำให้ระบบปฏิบัติการ Window ภายในคอมล่มเกิดจากอะไร ไม่ว่าจะเป็นการถูกจู่โจมด้วยไวรัส อุปกรณ์ชำรุดเสียหายจากน้ำหรือไฟฟ้าลัดวงจร หรือคอมพิวเตอร์ขาดการอัพเดตและใช้นานมาเป็นเวลานานโดยไม่ได้บำรุงรักษา จึงจะสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด วิธีแก้ไข: กรณี Window เข้าไม่ได้ สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยการเข้าไปยัง Safe Mode เพื่อถอนการติดตั้งโปรแกรมที่อาจนำไวรัสมารังควาญการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรืออาจใช้ Safe Mode ในการดึงข้อมูลไปเก็บไว้ให้ปลอดภัยก่อนที่จะลง Window ใหม่ก็ได้เช่นกัน

โน๊ตบุ๊คชาร์จไฟไม่เข้าเช็คอาการและแก้ไขเบื้องต้นด้วยตัวเองโน๊ตบุ๊คชาร์จไฟไม่เข้าเช็คอาการและแก้ไขเบื้องต้นด้วยตัวเอง

โน๊ตบุ๊คชาร์จไฟไม่เข้า แก้ไขยังไงดี เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มแต่ถ้ามีอาการเสียหาย และทำทุกวิธีแล้วไม่ได้ผลอาจต้องลองเสียเงินหรือส่งให้ทางศูนย์ซ่อมหรือช่างผู้ชำนาญเช็กให้ บทความนี้ได้รวบรวมวิธีตรวจสอบอาการผิดปกติกรณีเสียบสายชาร์จโน๊ตบุ๊คแล้วแต่ชาร์จไฟไม่เข้าดังนี้ เพื่อให้สามารถชาร์จไฟได้อีกครั้ง โดยบทความนี้สำหรับผู้ใช้ Windows แต่ถ้าคุณใช้ Macbook หรือ Linux ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน 1. ตรวจสอบการเสียบทั้งหมด เสียบจริงหรือไม่ ให้แน่ใจว่าคุณได้เสียบสายชาร์จเข้ากับพอร์ตชาร์จของแล็ปท็อปอย่างแน่นหนา จากนั้นตรวจสอบการเชื่อมต่อกับเต้ารับที่ผนังอีกครั้ง ลองลองใช้เต้ารับอื่นในกรณีที่เต้ารับปัจจุบันใช้ไม่ได้ หากคุณเสียบปลั๊กไฟ ให้ลองต่อโดยตรงกับเต้ารับที่ผนังแทน กรณีปลั๊กพ่วงให้ดูที่ปลั๊กพ่วงด้วยว่าได้เปิดสวิตซ์เป็น ON ด้วยหรือยัง 2. ถอดแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊คออกและเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟ ขั้นต่อไป คุณควรตรวจสอบว่าแบตเตอรี่แล็ปท็อปของคุณใช้งานได้หรือไม่ หากแล็ปท็อปของคุณมีแบตเตอรี่แบบถอดได้ ให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่อง ถอดปลั๊กที่ชาร์จและอุปกรณ์เสริมที่เชื่อมต่อออกด้วย 

เปิดคอมไม่ติดเปิดคอมไม่ติด

ปัญหาที่หนักกว่าการเข้า Window ไม่ได้หรือระบบปฏิบัติการล่มคือการไม่สามารถเปิดเครื่องได้เลย ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการถูกโจมตีด้วยไวรัส เมนบอร์ดทำงานผิดปกติ หรือซีพียูเกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมไปถึงสายไฟและวงจรต่าง ๆ ไม่ได้ถูกต่อเข้าอย่างถูกวิธี หากเป็นเช่นนั้น การแก้ไขสามารถทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เพียงแต่ต้องให้ความสำคัญกับส่วนประกอบต่าง ๆ ที่หากถอดออกมาแล้ว ควรประกอบให้เหมือนเดิม วิธีแก้ไข: การแก้ไขปัญหาเปิดคอมไม่ติดอาจเริ่มด้วยการตรวจเช็คปลั๊กต่าง ๆ ว่ามีการเสียบต่ออย่างถูกต้องแล้วหรือยัง รวมถึงการทำความสะอาด Slot ต่าง ๆ ของอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับคอม และถอดซีพียูออกมาเช็คดูว่ามีความเสียหายหรือมีอะไรหลุดออกจากตำแหน่งที่ควรอยู่หรือไม่ หากมีให้จัดการเชื่อมต่อให้เรียบร้อย หากไม่สามารถหาสาเหตุของปัญหาพบ การนำไปให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด